คางคก
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์บันดาลน้ำฝน
สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์เป็นเขตมรสุมต้องพึ่งพาธรรมชาติ
ได้น้ำฝนจากฟ้ามาทำนา เรียก “นาทางฟ้า” จึงมีน้ำไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่นอน
บางปีน้ำมาก บางปีน้ำน้อย ในโองการแช่งน้ำมีโคลงวรรคหนึ่งว่า “น้ำแล้งไข้ ขอดหาย” สลับกันไปกับน้ำท่วม ทำให้คนต้องมีพิธีกรรมขอฝนด้วยวิธีวิงวอน,
ร้องขอ จนถึงบงการ เช่น นิทานเรื่องพญาคันคาก (คางคก) คนลาวเรียกคันคาก คนไทยเรียกคางคก เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทเดียวกับ
กบ, เขียด,และอึ่งอ่าง
ที่คนดั้งเดิมเริ่มแรกยุคดึกดำบรรพ์(หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์)
เคารพยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของน้ำและฝน
เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำนองทั่วไป ความเชื่อว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างกบ-คันคาก-คางคก
เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว
พยานหลักฐานมีอย่างน้อย 2 อย่าง คือ
1. กบสัมฤทธิ์
ประดับอยู่หน้ากลองทอง หรือกลองสัมฤทธิ์ ที่เรียกกันภายหลังว่ามโหระทึก ใช้ตีขอฝน
ฯลฯ
2. คนทำท่ากบ เป็นภาพเขียนสีบนหน้าผา ในถ้ำ
และสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ วาดรูปคนแต่กางแขน-ขาทำท่าเหมือนกบ ลายสัก หรือสักหมึก ตามร่างกาย
แขนขาของผู้คนชนเผ่าในอุษาคเนย์ยุคแรกเริ่มทำลวดลายเหมือนผิวหนังกบจริงๆ
เหตุที่คนแต่ก่อนทำท่ากบ คางคก เพราะเชื่อว่ากบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์สื่อสารกับอำนาจอย่างหนึ่งได้
ทำให้มีน้ำฝนหล่นจากฟ้ามาสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารความอุดมสมบูรณ์
ให้กำเนิดความมีชีวิตทั้งสัตว์, พืช, และคน
จึงพากันเรียกอวัยวะเพศหญิงว่า กบ คางคก มาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะรูปร่างคล้ายกัน
และเป็นที่ให้กำเนิดคน(เพิ่งเปลี่ยนเรียกด้วยคำบาลีอย่างทุกวันนี้เมื่อรับศาสนาจากชมพูทวีปแล้ว)แต่ฝนก็ไม่ได้ตกลงมาทุกคราวตามต้องการ
เพราะยังมีฤดูที่ฝนไม่ตก ทำให้แห้งแล้ง คนเลยต้องบูชา กบ คางคก เพื่อวิงวอนร้องขอให้กบ คางคก ช่วยบอกผู้มีอำนาจบนฟ้าปล่อยน้ำลงมาเป็นฝนตก
จึงมีพิธีกรรมการละเล่นเต้นฟ้อนทำท่ากบบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
เช่นผาลาย (มณฑลกวางสี) ประเทศจีน
ผาแต้ม (อุบลราชธานี)เขาจันทน์งาม (นครราชสีมา) เขาปลาร้า(อุทัยธานี)ฯลฯ
แต่การวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติผ่านพิธีบูชากบไม่สำเร็จเสมอไป
เพราะมนุษย์ควบคุมธรรมชาติไม่ได้ ฉะนั้นหลายครั้งฝนก็ไม่ตกตามที่คนต้องการ
เลยจินตนาการว่าผู้มีอำนาจบนฟ้ากำลังประพฤติมิชอบ
ต้องกำราบปราบปรามให้อยู่ในความควบคุมแล้วปล่อยน้ำฝนหล่นมาตามต้องการเมื่อถึงเวลาฤดูกาลทำไร่ทำนา
ทำให้คนสร้างเรื่องขึ้นจากจินตนาการแล้วบอกเล่ากันปากต่อปากสืบมาเป็นนิทาน เช่น
พญาคันคาก หรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า แต่ลงท้ายก็ล้มเหลวหมด
คือเอาชนะธรรมชาติจริงๆไม่ได้ ในนิทานเรื่องนี้มีนาค
แปลว่า เปลือย, คนเปลือย
เป็นคำที่ชาวชมพูทวีป(อินเดียโบราณ)ใช้เรียกคนพื้นเมืองในอุษาคเนย์อย่างดูถูกเหยียดหยาม
ต่อมาหมายถึงงู(และเงือก, เงี้ยว, งึม)
เป็นสัตว์มีพิษ และมีอำนาจควบคุมน้ำอยู่บาดาล(ใต้ดิน)บริเวณสองฝั่งโขงยุคดึกดำบรรพ์เชื่อว่าหนองน้ำคือถิ่นที่อยู่ของนาค
และน้ำผุด, น้ำพุ, น้ำซึม, น้ำซับ, น้ำซำ(ต้นเค้าคำว่าสยาม) คือรูนาค
ที่เป็นเส้นทางไปมาของนาค จอมปลวกก็คือรูนาคอย่างหนึ่ง เพราะมีตาน้ำอยู่ข้างในแต่เรื่องพญาคันคากกำหนดให้น้ำอยู่บนฟ้า
มีพญาแถนรักษาไว้
น้ำบนฟ้าจะตกลงมาเป็นน้ำฝนให้มนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อนาคจากบาดาลขึ้นไปเล่นน้ำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ไปกระทบโขดหินขุนเขาบนสวรรค์
คือหมู่เมฆนั่นเอง น้ำบนฟ้าจึงจะแตกกระจายกลายเป็นฝนหล่นลงมาสู่โลก
ถ้านาคไม่ขึ้นไปเล่นน้ำก็ไม่มีฝนโครงเรื่องอย่างนี้สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อของมนุษย์ยุคโลหะเมื่อราว
3,000 ปีมาแล้ว
ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างดินกับฟ้า ว่าต้องอ้างอิงเกี่ยวข้องกัน
ฉะนั้นคนกับธรรมชาติตัดขาดจากกันไม่ได้ ถ้าส่อเสียดเบียดเบียนธรรมชาติ
มนุษย์ย่อมต้องเดือดร้อนหย่อนเย็นไม่เป็นสุขสืบมาจนบัดนี้กบบนหน้ากลองมโหระทึก
ราว 4,000 ปีมาแล้ว พบที่ ต. ท่าเรือ อ. เมือง จ.
นครศรีธรรมราช และพบที่อื่นๆทั่วไปด้วย
คนทำท่ากบในพิธีกรรมบูชากบเพื่อขอฝน ราว 3,000 ปีมาแล้ว
คัดลอกเป็นลายเส้นจากภาพเขียนสีที่ผาลาย มณฑลกวางสีในจีน คนกางแขนถ่างขาทำท่าคล้ายกบ บนหัวมีขนนกประดับ นุ่งผ้าปล่อยชายยาวออกไป 2 ข้าง คล้ายรูปคนบนมโหระทึกและเครื่องมือสัมฤทธิ์พบที่เวียดนาม ราว 3,000
ปีมาแล้ว ภาพเขียนที่ถ้ำ(เขา)ผาแดง บ้านโป่งหวาย ด่านแม่แฉลบ
อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี
บทความ สุจิตต์ วงษ์เทศ
إرسال تعليق