คางคก จำศีล



คางคกจำศีล
                
                  คางคก  เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่มีอุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตาสภาพแวดล้อม ฉะนั้นถ้าอุณหภูมิแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก และน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอด อาหารของคางคกขาดแคลน คางคกจะลดหรือหยุดกิจกรรมต่างๆ ลง เพื่อความอยู่รอด ซึ่งช่วงนี้อุณหภูมิภายในตัวกบก็จะลดลงด้วย ต้องใช้พลังงานมากในการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย คางคกจึงมุดดินลงไปนอนนิ่งๆ ไม่กินอาหาร และดึงไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายมาใช้เพื่อประทังชีวิต โดยจะเรียกภาวะนี้ว่า "คางคกจำศีล"



                                                            คางคกจะหลบซ่อนอยู่ในโพลงที่เงียบสงบ

                    คางคก    หายใจโดยใช้ปอด โดยอากาศจะผ่านเข้าทางรูจมูกสู่ช่องปาก แล้วเข้าสู่หลอดลมและปอด เยื่อบุช่องปากของคางคกจะมีเส้นเลือดฝอยมากมาย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนอากาศ นอกจากนี้คางคกยังสามารถหายใจทางผิวหนังได้อีกด้วย ฤดูกาลที่คางคกจะฝังตัวหลบอยู่ในโพรงใต้ดินอย่างสงบ มักอยู่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง ในประเทศไทยช่วงฤดูดังกล่าวแหล่งน้ำตามธรรมชาติโดยทั่วไปจะแห้งขอด อาหารของคางคกจะขาดแคลนจึงเป็นช่วงเวลาที่คางคกจะหมกตัวอยู่ในโคลนตามบ่อ คู หรือไม่ก็อยู่ในรูนอนสงบนิ่งหลับตา คางคกจะปิดรูจมูกและหุบปากสนิท เพื่อให้สูญเสียพลังงานภายในกายน้อยที่สุด อาหารที่ใช้เลี้ยงตัวเองในระหว่างนี้จะได้จากไขมันซึ่งสะสมอยู่ภายในร่างกายโดยเปลี่ยนรูปมาจากอาหารที่สะสมได้ในระหว่างฤดูกาลที่คางคกสามารถเลือกหาอาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ในช่วงที่ว่านี้ จึงเรียกว่าฤดูกาลที่ "คางคกจำศีล"

                     ระหว่างการจำศีลคางคกจะหายใจด้วยปอดน้อยที่สุด แต่จะใช้ผิวหนังทำหน้าที่หายใจเป็นส่วนใหญ่ การจำศีลของคางคกนอกจากจะเป็นการอยู่นิ่ง ๆ พอให้ประทังชีวิตรอด เนื่องจากไม่มีอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกายแล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงบรรยากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาว และอากาศร้อนในช่วงฤดูแล้ง ในฤดูที่มีการผสมพันธุ์คือฤดูฝน คางคกจะส่งเสียงร้องคล้ายกับเสียงร้องของกบแต่เสียงแหลมเล็กกว่าเสียงกบ คางคกตัวผู้เรียกหาคางคกตัวเมีย ฟันแต่ละซี่ของคางคกมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีลักษณะคล้ายซี่เลื่อยติดอยู่กับกระดูกขากรรไกรบนและที่บริเวณเพดานขากรรไกรล่างจะไม่มีฟัน ลิ้นของกบมีปลายแยกเป็นสองแฉก โคนลิ้นตั้งติดอยู่ทางส่วนหน้าของปาก ปลายสิ้นจะตลบไปอยู่ภายในปาก เวลาจับแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นอาหาร คางคกจึงจะใช้ลิ้นตวัดออกมา ใช้สองแฉกตรงบริเวณปลายลิ้นจับอาหารเข้าปาก แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถขยอกกลืนเข้าปากได้ในทันที คางคกจะใช้ฟันบนและขากรรไกรล่างงับไว้ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ขยอกอาหารเข้าสู่ลำคอโดยการใช้ส่วนนูนของเบ้าตาที่ย้อยลงไปในปากกดดันอาหารให้ผ่านเข้าไปในลำคอ คางคกหายใจโดยใช้ปอด โดยอากาศจะผ่านเข้าทางรูจมูกสู่ช่องปาก แล้วเข้าสู่หลอดลมและปอด เยื่อบุช่องปากของคางคกจะมีเส้นเลือดฝอยมากมาย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนอากาศ นอกจากนี้คางคกยังสามารถหายใจทางผิวหนังได้อีกด้วย ฤดูกาลที่คางคกจะฝังตัวหลบอยู่ในโพรงใต้ดินอย่างสงบ มักอยู่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง

                      ในประเทศไทยช่วงฤดูดังกล่าวแหล่งน้ำตามธรรมชาติโดยทั่วไปจะแห้งขอด อาหารของคางคกจะขาดแคลนจึงเป็นช่วงเวลาที่คางจะหมกตัวอยู่ในโคลนตามบ่อ คู หรือไม่ก็อยู่ในรูนอนสงบนิ่งหลับตา คางคกจะปิดรูจมูกและหุบปากสนิท เพื่อให้สูญเสียพลังงานภายในกายน้อยที่สุด อาหารที่ใช้เลี้ยงตัวเองในระหว่างนี้จะได้จากไขมันซึ่งสะสมอยู่ภายในร่างกายโดยเปลี่ยนรูปมาจากอาหารที่สะสมได้ในระหว่างฤดูกาลที่กบสามารถเลือกหาอาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ในช่วงที่ว่านี้ จึงเรียกว่าฤดูกาลที่ "คางคกจำศีล" ระหว่างการจำศีลคางคกจะหายใจด้วยปอดน้อยที่สุด แต่จะใช้ผิวหนังทำหน้าที่หายใจเป็นส่วนใหญ่การจำศีลของคางคกนอกจากจะเป็นการอยู่นิ่ง ๆ พอให้ประทังชีวิตรอด เนื่องจากไม่มีอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกายแล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงบรรยากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาว และอากาศร้อนในช่วงฤดูแล้ง เพราะคางคกเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับปลา คางคกทั้งเพศผู้และเพศเมีย หากมีอายุเท่ากัน ขนาดของกับตัวผู้จะเล็กกว่าคางคกตัวเมียมาก ฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิหาคมคางคกตัวเมียจะวางไข่ในแหล่งน้ำตื้น ๆ หรือในแอ่งน้ำเล็ก ๆ หลังฝนตก โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกทางรูก้น ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมทันที รังไข่ของคางคกมีลักษณะเป็นสายเมื่อถูกน้ำจะกลายเป็นเมือกเหนียว คล้ายวุ้นจับติดกันเป็นแพ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ และจะฟักเป็นตัวภายใน 2 สัปดาห์ ระหว่างที่ยังเป็นลูกอ๊อดวัยอ่อน ลูกคางคกจะหายใจด้วยเหงือกและมีรูปร่างคล้ายปลา เมื่อลูกคางคกมีอายุมากขึ้นหางของลูกคางคกจะหดสั้นและหายไปในที่สุดระยะนี้รูปร่างและอวัยวะน้อยใหญ่จึงมีลักษณะเป็นคางคกที่สมบูรณ์ 

แสดงความคิดเห็น

Post a Comment (0)

ใหม่กว่า เก่ากว่า