คางเอ๋ย คางคก On toads



ชื่อสามัญ
: toad
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bufo americanus
วงศ์ : Bufonideaคางคก


               สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมี 4 ขา มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บตัวอ่อนอยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ตัวเต็มวัยอยู่บนบกหายใจด้วยปอดมีหัวใจ 3 ห้องออกไข่ในน้ำผิวหนังไม่มีเกล็ด ผิวหนังเปียกชื้น มีต่อมเมือกผสมพันธุ์ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโตเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่น คางคก เขียด อึ่งอ่าง ปาด กบ งูดิน ซาลาแมนเดอร์ลักษณะรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกบ มีสีเทาจนถึงดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ๆอาศัย ผิวหนังด้านหลังขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำ ด้านท้องเรียบสีขาว มีจุดสีดำเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป มีต่อมพิษอยู่บริเวณผิวหนังใกล้หู สามารถปล่อยยางซึ่งเป็นสารพิษออกมาทำร้ายศัตรูเพื่อป้องกันตัวได้ มีความยาวจากปากถึงก้นประมาณ 10 เซนติเมตร คางคกที่พบในเมืองไทยมีทั้งหมด 4 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปคือคางคกบ้าน (Bufo melanostictus)
 
ลักษณะทั่วไปของคางคก
             ขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ (จากปลายปากถึงรูก้นอาจยาวถึง 100 มิลลิเมตร) ผิวหนังลำตัวมีตุ่มเล็กและใหญ่กระจายปะปนกันซึ่งเป็นต่อมพิษ ตุ่มเกือบทุกตุ่มมีส่วนยอดหรือตรงกลางของตุ่ม จุดประเป็นสีดำ ทางด้านท้ายของตามีต่อมพิษขนาดใหญ่ (parotid gland) รูปร่างยาว (10 –20 มิลลิเมตร) ทางด้านบนของต่อมเป็นจุดประสีดำ ผิวลำตัวด้านท้องไม่มีตุ่มแต่ค่อนข้างหยาบ บนหัวมีสันเป็นเส้นสีดำเริ่มต้นจากส่วนปลายของหัว (canthal crest) ผ่านไปทางด้านหน้าของตา (preorbital crest) ไปทางด้านบนของตา (supraorbital crest) แล้วแยกเป็นง่ามลงไปทางด้านท้ายของตาหรือทางด้านหน้าของแผ่นเยื่อแก้วหู (postorbital crest/pretympanic crest) กับไปทางด้านบนของแผ่นเยื่อแก้วหู (supratympanic crest) ขอบปากบนครึ่งทางด้านท้ายมีสันเป็น เส้นสีดำ ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีจางกว่าด้านหลัง หรือบางครั้งเป็นสีน้ำตาลเหลือง แต่คางคกวัยรุ่นอาจมีด้านท้องสีขาว เพศผู้ในช่วงเวลาผสมพันธุ์ มีลำคอสีเหลืองหรือสีน้ำตาลเหลือง ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างสั้น เมื่อพับขาหลังแนบกับลำตัวไปทางด้านหน้า ข้อตีน อยู่ในตำแหน่งประมาณกึ่งกลางของต่อมพาโรติด นิ้วตีนหน้าไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว ส่วนนิ้วตีน หลังมีแผ่นหนังค่อนข้างหนาประมาณ 1/3 ของความยาวนิ้ว ส่วนปลายของนิ้วทุกนิ้วสีดำ ลูกอ๊อดมีขนาดตัวเล็กและมีสีดำ ลำตัวค่อนข้างกลม ปากอยู่ทางด้านล่าง หางเรียว และแผ่นครีบหางเล็ก ตุ่มฟันในอุ้งปากมีจำนวนแถวและลักษณะการเรียงตัวเป็นสูตร ขอบของจะงอยปากบนและจะงอยปากล่างเป็นรอยหยัก การแพร่กระจาย แผ่นดินใหญ่ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คาบสมุทรมลายู เกาะชวา เกาะ บอร์เนียว หมู่เกาะฟิลิปปินส์ (ยกเว้นเกาะพาลาวัน


            พื้นที่อาศัย อยู่ตามพื้นล่างของป่าบริเวณที่มีความชุ่มชื้น และบริเวณอาคารของสถานีวิจัยฯ นิสัย หลบซ่อนตัวในเวลากลางวันและออกหากินเวลากลางคืน หากินอยู่ในพื้นที่เดิมตลอดเวลา การทดลองจับไปปล่อยในพื้นที่ห่างออกไปประมาณ 200 เมตร ปรากฏว่า ในหลายวันต่อมาได้กลับมาหากินอยู่ในพื้นที่เดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงเวลาสืบพันธุ์จะเคลื่อนย้ายเพื่อหาแหล่งน้ำ เป็นที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ไม่ค่อยกระโดดและใช้การเดินเข้าหาตัวเหยื่อ (แมลง) มากกว่าการ กระโดด ผสมพันธุ์และวางไข่ในแอ่งน้ำขังชั่วคราวที่กระจายอยู่ในป่าเต็งรังและในป่าดิบแล้งระหว่างฤดูฝน รวมทั้งในอ่างเก็บน้ำ และถังน้ำที่ตั้งไว้ในพื้นที่ป่า

          

แสดงความคิดเห็น

Post a Comment (0)

ใหม่กว่า เก่ากว่า